view 2450 ครั้ง
วิสัยทัศน์
“ อนุรักษ์เชิดชูภูมิปัญญา พัฒนาบ้านเมืองน่าอยู่ ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้สวยงาม
การคมนาคมปลอดภัย ประชาธิปไตยเข้มแข็ง”
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด กลุ่มอาเซียน +๖ และ GMS
1.1 การพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่ง ทางระบายน้ำ สะพาน ท่าเทียบเรือ และการพัฒนา ระบบ โครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวในด้านการค้า และการลงทุนในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 พัฒนางานด้านการผังเมือง การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ และ งานควบคุมอาคาร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
2.1 ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาตามแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในการดําเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนได้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
2.2 ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว และการ จัดการตลาด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และหัตถกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตจนถึง การตลาด
2.3 เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและจัดหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ตามศักยภาพของ พื้นที่ให้เป็นโครงข่ายความร่วมมือกับจังหวัด และประเทศ
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมและ ประเพณีท้องถิ่น พร้อมยกระดับมาตรฐานด้านบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสร้างความ ประทับใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาการศึกษาและและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3.1 ส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและตามเกณฑ์มาตรฐาน
3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน
3.3 พัฒนาองค์ความรู้บุคลากรทางการศึกษาผู้สอนภาษาต่างประเทศและความรู้เกี่ยวกับประเทศ เพื่อนบ้าน พร้อมได้รับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
3.4 สนับสนุนการเรียนรู้คู่คุณธรรม ร่วมกับสถาบันทางศาสนา รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาที่คํานึงถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมทางด้านภาษา และการแต่งกาย
3.5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่าง กว้างขวางและทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม การสาธารณสุข และการป้องกันสาธารณภัย
4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุข การอนามัย ครอบครัว การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้มีคุณภาพครอบคลุมโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่าย
4.2 สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์ทางเลือกในการดูแลและรักษาสุขภาวะ
4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
4.4 สนับสนุนที่พักอาศัยแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ให้มีที่อยู่อาศัยที่ดีคงทน ถาวร และมี สภาพแวดล้อมที่ดี
4.5 ส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น ตลอดจนให้ความสําคัญกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้รับอาหารเสริมนมและอาหารกลางวันอย่างครบถ้วน
4.6 สนับสนุนงานด้านการส่งเสริมอาชีพและฝึกอาชีพให้กับประชาชน กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้ ไม่มีงานทํา เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานและอาชีพ รวมทั้งการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการมีงานทําและมีรายได้
4.7 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนการ ให้ความสําคัญกับระบบเตือนภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยพิบัติในท้องถิ่น
4.8 ส่งเสริมและสนับสนุนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ ปัญหาอาชญา กรรม และการค้ามนุษย์ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์ และยั่งยืน
5.1 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสียในชุมชน มลพิษทางอากาศ ตลอดจนการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนและท้องถิ่น
5.2 เสริมสร้างความร่วมมือและสร้างจิตสํานึกให้กับประชาชน ในการดําเนินการอนุรักษ์การคุ้มครองดูแลและบํารุงรักษาป่าไม้ น้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่นให้เกิดประโยชน์และเกิดผลสําเร็จ อย่างยั่งยืนและตามแนวทางพระราชดําริ
5.3 พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.4 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทําฝายต้นน้ำ (Check Dam) เพื่อชะลอการไหลของน้ำและตะกอนเสริม ความสมบูรณ์ของป่า
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการบ้านเมือง การบริหาร
6.1 ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
6.2 เสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ในชุมชนและท้องถิ่น บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน
6.3 พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการคลัง วิธีการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัย และประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อการ แก้ไขปัญหาของประชาชนและการให้การบริการที่มีประสิทธิภาพ
6.4 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้และเทคโนโลยี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น